หลักการทำงานของ joomla3.x
การทำงานของ joomla3.x นั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก joomla รุ่นเก่า ๆ มากนักซึ่งยังคงมีหลักการทำงานที่เหมือนกันดังนี้
1. การสร้างบทความคือการสร้างหน้าเว็บเพจ เมื่อเขียนบทความขึ้นมาแล้วสามารถสั่งให้แสดงบทความได้ทันที หรืออาจจะปิดการทำงานเอาไว้ก่อนในกรณีที่ยังไม่ต้องการให้แสดง
2. ก่อนจะสร้างบทความควรสร้างหมวดหมู่ (Categories) ของบทความนั้น ๆ ก่อนทั้งนี้เมื่อต้องการเขียนบทความจะได้เลือกหมวดหมู่นั้น ๆ ได้ทันที การสร้าง และเปลี่ยนหมวดหมู่ในภายหลังไม่เป็นผลดีกับการทำอันดับใน Search Engine
3. การสร้างเมนูนั้นจะเชื่อมโยงกับบทความ และสามารถเลือกลักษณะของเมนูได้หลายลักษณะ เช่น เมื่อคลิกเมนูแล้วให้แสดงบทความเลย หรือเมื่อคลิกเมนูแล้วให้แสดงหมวดหมู่ของบทความ
4. โมดูลเป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงผล ซึ่งสามารถแสดงผลตามตำแหน่งที่เทมเพลทนั้นรองรับ เช่น เมื่อเราสร้างเมนู เชื่อมโยงกับหมวดหมู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราต้องกำหนดการแสดงผลด้วยโมดูลในตำแหน่งที่เราต้องการอีกด้วย
5. โมดูลนั้นสามารถสร้างเอง หรือ Download เพิ่มเติมก็ได้
6. นอกจากโมดูลแล้ว joomla ยังมีโปรแกรมเสริมขนาดเล็กอีกซึ่งประกอบด้วย Component และ Plug-in
7. เราสามารถเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เทมเพลท เปลี่ยนได้ทั้งในส่วนของ Front End View และ Back End View
8. เพื่อความปลอดภัย joomla จึงมีการ Upgrade อยู่เสมอ และการ Upgrade นั้นก็ทำได้ง่ายเพียงแค่ Download และ Upload ทับไฟล์เดิม
9. ไฟล์ที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ Configuration.php
ทั้งหมดนี้คือหลักการคร่าว ๆ ที่พอจะเรียบเรียงออกมาเป็นข้อ ๆ ได้ ซึ่งหากเราทำความเข้าใจกับหลักการเหล่านี้ได้ก็จะทำให้เราสามารถใช้งาน joomla ได้อย่างรวดเร็ว
1. การสร้างบทความคือการสร้างหน้าเว็บเพจ เมื่อเขียนบทความขึ้นมาแล้วสามารถสั่งให้แสดงบทความได้ทันที หรืออาจจะปิดการทำงานเอาไว้ก่อนในกรณีที่ยังไม่ต้องการให้แสดง
2. ก่อนจะสร้างบทความควรสร้างหมวดหมู่ (Categories) ของบทความนั้น ๆ ก่อนทั้งนี้เมื่อต้องการเขียนบทความจะได้เลือกหมวดหมู่นั้น ๆ ได้ทันที การสร้าง และเปลี่ยนหมวดหมู่ในภายหลังไม่เป็นผลดีกับการทำอันดับใน Search Engine
3. การสร้างเมนูนั้นจะเชื่อมโยงกับบทความ และสามารถเลือกลักษณะของเมนูได้หลายลักษณะ เช่น เมื่อคลิกเมนูแล้วให้แสดงบทความเลย หรือเมื่อคลิกเมนูแล้วให้แสดงหมวดหมู่ของบทความ
4. โมดูลเป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงผล ซึ่งสามารถแสดงผลตามตำแหน่งที่เทมเพลทนั้นรองรับ เช่น เมื่อเราสร้างเมนู เชื่อมโยงกับหมวดหมู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราต้องกำหนดการแสดงผลด้วยโมดูลในตำแหน่งที่เราต้องการอีกด้วย
5. โมดูลนั้นสามารถสร้างเอง หรือ Download เพิ่มเติมก็ได้
6. นอกจากโมดูลแล้ว joomla ยังมีโปรแกรมเสริมขนาดเล็กอีกซึ่งประกอบด้วย Component และ Plug-in
7. เราสามารถเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาของเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เทมเพลท เปลี่ยนได้ทั้งในส่วนของ Front End View และ Back End View
8. เพื่อความปลอดภัย joomla จึงมีการ Upgrade อยู่เสมอ และการ Upgrade นั้นก็ทำได้ง่ายเพียงแค่ Download และ Upload ทับไฟล์เดิม
9. ไฟล์ที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ Configuration.php
ทั้งหมดนี้คือหลักการคร่าว ๆ ที่พอจะเรียบเรียงออกมาเป็นข้อ ๆ ได้ ซึ่งหากเราทำความเข้าใจกับหลักการเหล่านี้ได้ก็จะทำให้เราสามารถใช้งาน joomla ได้อย่างรวดเร็ว