บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2013

การติดตั้ง Template ใน Joomla3.x

รูปภาพ
การติดตั้ง Template ใน Joomla3.x ก็ยังคงติดตั้งเช่นเดียวกับการติดตั้ง Template ในเวอร์ชั่นก่อน ๆ ทั้งนี้ก่อน Download แนะนำให้ดูให้ดีว่า Template นั้นสามารถใช้งานกับ Joomla ที่เราใช้งานอยู่ได้หรือไม่ สำหรับขั้นตอนในการติดตั้ง Joomla Template มีดังต่อไปนี้ เริ่มจากเข้าสู่ระบบด้วยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ คลิกเมนู Extensions > Extension Manager แสดงหน้าต่างสำหรับ Upload ไฟล์ขึ้นมา คลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์สำหรับติดตั้ง Template คลิก Template ที่ Download มา คลิกปุ่ม Open จะเห็นว่าไฟล์ที่ถูกเลือกจะแสดงอยู่ด้านหลังปุ่ม Browse คลิกปุ่ม Upload & Install (สีน้ำเงิน) เพื่อติดตั้ง Template หากติดตั้งสำเร็จจะปรากฏหน้าจอตามภาพด้านล่าง

เปลี่ยนภาษาไทยใน joomla3.x ตอนที่ 2

รูปภาพ
จากตอนที่ผ่านมาผมได้อธิบายวิธีการเปลี่ยนภาษาไทยสำหรับหน้าเว็บไซต์ไปเรียบร้อยแล้ว  บทความนี้เราจะมาดูวิธีการเปลี่ยนภาษาไทยให้กับผู้ดูแลระบบกันบ้างครับ การเปลี่ยนภาษาในส่วนของผู้ดูแลระบบ (Administrator) จะทำให้เมนูต่าง ๆ กลายเป็นภาษาไทยทั้งหมด ซึ่งช่วยให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ( แต่ภาษาที่ผมแนะนำให้ใช้ในส่วนของผู้ดูแลระบบนี้คือภาษาอังกฤษ เพราะส่วนใหญ่บทความการใช้ joomla ใน Internet มักใช้เมนูภาษาอังกฤษ และเมนูอังกฤษนั้นเข้าใจง่ายกว่าเมนูภาษาไทยนั่นเอง วิธีการเปลี่ยนนั้นไม่แตกต่างกันครับ เริ่มจากเข้าสู่ระบบด้วยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ คลิกเมนู Extensions > Language Manager แสงหน้าต่างสำหรับเปลี่ยนภาษาขึ้นมา ปรับแต่งดังนี้           1.  คลิกเมนู Installed - Administrator           2.  คลิก Thai (ภาษาไทย)           3.  คลิกปุ่ม Default สังเกตุว่าในขณะนี้เมนูต่าง ๆ ในส่วนของ Administrator ได้เปลี่ยนเป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้วครับ

การเปลี่ยนภาษาใน Joomla3.x

รูปภาพ
หลังจากติดตั้งภาษาไทยเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากยังไม่มีการตั้งค่าให้ใช้ภาษาไทย  joomla ของคุณก็ยังคงเป็นภาษาอังกฤษอยู่ และสิ่งที่คุณต้องทราบเพิ่มเติมก็คือ คุณสามารถเปลี่ยนภาษาได้ทั้ง 2 ส่วนไม่ว่าจะเป็นส่วนของหน้าเว็บไซต์ และส่วนของผู้ดูแลระบบได้อีกด้วย  บางท่านที่อยากเปลี่ยนภาษาไทยเฉพาะหน้าเว็บไซต์ก็สามารถทำได้ เพราะทั้ง 2 ส่วนนี้แยกออกจากกันทำให้ง่ายในการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก สำหรับขั้นตอนการเปลี่ยนภาษาใน joomla3.x มีดังต่อไปนี้ เข้าสู่ระบบด้วยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ คลิกเมนู Extensions > Language Manager ปรากฏหน้าต่าง Language Manager ขึ้นมา ตัวอย่างในบทความนี้เป็นการเปลี่ยนภาษาไทยให้กับหน้าเว็บไซต์ จากโดยเรียงลำดับดังนี้      1.  คลิกเมนู Installed - Site      2.  คลิกเลือก Thai (ภาษาไทย)      3.  คลิกปุ่ม Default   หากเปลี่ยนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะแสดงลักษณะตามภาพด้านล่าง จะเห็นว่ารูปดาวสีเหลืองในส่วนของ Default จะไปปรากฏที่ภาษาไทยแทนภาษาอังกฤษ เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับสำหรับการตั้งค่าภาษาไทยให้กับ joomla3.x

ติดตั้งภาษาไทย Joomla3.x

รูปภาพ
การติดตั้งภาษาไทยใน Joomla3.x มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ เริ่มจากเข้าสู่ระบบด้วยสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบ คลิกเมนู Extensions > Language Manager ตามภาพด้านล่าง จะเห็นว่า joomla3.x นั้นสามารถติดตั้งภาษาไทยผ่านทาง Back End View ได้ทันที แต่ในบทความนี้เราจะมาดูวิธีการติดตั้งแบบดั้งเดิมกันก่อนครับ คลิกเมนู Install (บนสุดด้านซ้าย) คลิกปุ่ม Browser เพื่อค้นหาไฟล์ติดตั้งภาษาไทยที่ Download มา คลิกเลือกไฟล์สำหรับติดตั้งภาษาไทย คลิกปุ่ม Open คลิกปุ่ม Upload & Install แสดงการติดตั้งภาษาไทยสำหรับ joomla3.x เรียบร้อยแล้วครับ

Download ภาษาไทย Joomla3.x

รูปภาพ
อย่างที่ผมเคยเขียนในบทความจากหลาย ๆ บทความแล้วว่า Joomla นั้นรองรับภาษาไทย และสามารถแสดงผลภาษาไทยได้อย่างดี  บทความนี้เราจะมาดูกันครับ ว่าเราจะหาภาษาไทยมาติดตั้งให้กับ joomla3.x ของเราได้อย่างไร ผมให้ดูรายละเอียดจาก Link ด้านล่างครับ ประกอบด้วย           Link หลักสำหรับ Download ภาษาไทย http://community.joomla.org/translations/joomla-3-translations.html#th-th เป็น Link ที่อยู่ในเว็บไซต์ของ Joomla  ซึ่งจะแสดงรายละเอียดของภาษาทุกภาษา ที่แปลขึ้นมาเพื่อใช้งานกับ joomla โดยเรียงตามตัวอักษร ค้นหาภาษาไทยได้ง่าย ๆ โดยเลื่อนไปที่หมวดตัวอักษร T นั่นเอง           Download ภาษาไทย สำหรับ joomla http://joomlacode.org/gf/project/jtranslation3_x/frs/?action=FrsReleaseBrowse&frs_package_id=6449   Link นี้จะพาคุณไปยังหน้า Download ภาษาไทยสำหรับ joomla3.x ในทันที หากมีการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต Link นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลง           สำหรับเว็บไซต์ของผู้พัฒนาภาษาไทยคือ http://www.joomlacorner.com   ซึ่งช่วยให้เรามีภาษาไทยสำหรับ joomla ใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้โดยไม่ต้องเสียเวลาทำเอง

Joomla คอมโพเน้นท์ (component) คืออะไร

รูปภาพ
joomla คอมโพเนนต์ (Component)  คือโปรแกรมเสริมติดตั้งเพื่อเพิ่มความสามารถ ให้กับ Joomla ในลักษณะต่าง ๆ เช่น แกลอรี่, ระบบจัดการดาวน์โหลด, เว็บบอร์ดระบบขายสินค้าออนไลน์  ฯลฯ    คอมโพเนนต์โดยส่วนใหญ่มีความสามารถค่อนข้างสูง และมักทำงานเป็นอิสระด้วยตัวของมันเอง นอกจากนี้คอมโพเนนต์บางตัวจะมี โมดูล และปลั๊กอินเพิ่มเข้ามาด้วย คุณสามารถ Download Joomla Component ได้จาก http://extensions.joomla.org/ มีทั้งแบบ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบที่ต้องเสียสตางค์ซื้อเช่นกัน การใช้งาน Component ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดมีความจำเป็นต้องอ่านวิธีการใช้งานจากคู่มือ หรือเว็บไซต์ผู้ผลิต Component นั้น ๆ ด้วย การติดตั้ง Component นั้นไม่แตกต่างไปจากการติดตั้งไฟล์อื่น ๆ นั่นคือจะต้องเลือกให้ตรงกับเวอร์ชั่นของ joomla ที่เราใช้งานอยู่

Joomla โมดูล (module) คืออะไร

รูปภาพ
joomla โมดูล ( Module ) เป็นโปรแกรมขนาดเล็ก โดยส่วนใหญ่สามารถทำงานด้วยตัวเอง และสามารถแสดงผลในตำแหน่งต่าง ๆ ของเว็บไซต์ เช่น โมดูลที่ใช้แสดงราคาน้ำมันของปตท.  โมดูลแสดงราคาทองคำของสมาคมค้าทองคำ  เป็นต้น Module ของ Joomla นั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ Joomla ได้เป็นอย่างมากเพียงแค่ติดตั้ง เปิดใช้งาน และเลือกตำแหน่งในการแสดงผลเท่านั้น  ซึ่งตำแหน่งในการแสดงผล ขึ้นอยู่กับเทมเพลทที่เลือกใช้นั้นมีตำแหน่งในการแสดงผลมากน้อยเพียงใด โมดูลนั้นมีหลากหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น โมดูสำหรับสร้างสไลด์โชว์, โมดูลสำหรับแสดงบทความในหน้าแรก, หรือแม้กระทั่งโมดูลสำหรับแสดงเมนูต่าง ๆ  คุณสามารถเข้าไปดูรายละเอียดของโมดูลต่าง ๆ ก่อนการนำโมดูลนั้นมาใช้งาน และ Download โมดูลได้จาก http://extensions.joomla.org/  ซึ่งมีทั้งแบบที่มีค่าใช้จ่าย และแบบที่สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี นอกจากนี้ผมได้เขียน Blog แนะนำการใช้งาน template เอาไว้จำนวนหนึ่ง สามารถเข้าไปเยี่ยมชม และ Download Template ได้ที่  http://joomla-template-preview.blogspot.com/

Joomla เทมเพลท (template) คืออะไร

รูปภาพ
สิ่งที่ทำให้ joomla มีความโดดเด่นกว่าการสร้างเว็บไซต์ ( Website ) ด้วยตัวเองก็คือ ความสวยงามของเว็บไซต์นั่นเอง เนื่องจากคนที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรม และสร้างเว็บไซต์ อาจจะไม่เชี่ยวชาญในการออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามก็ได้ เพราะการออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามต้องมีความรู้ในการใช้โปรแกรมกราฟิกส์อย่างเช่น Photoshop หรือแม้กระทั่งการถ่ายภาพให้สวยงาม ก็มีความสำคัญไม่น้อย  รูปร่างหน้าตาของเว็บไซต์ ขนาดตัวอักษร การให้สีที่เป็นรูปแบบ รูปภาพประกอบที่สวยงาม หรือแม้กระทั่งตำแหน่งที่จัดวางเมนูอย่างเหมาะสม สิ่งเหล่านี้ถูกนำมารวมกัน เพื่อนำไปใช้งานกับ joomla และถูกเรียกว่า template ซึ่งผู้สร้าง template นั้นได้จัดทำเป็นแพ็คเกจพร้อมสำหรับนำไปใช้งานได้ทันที ผู้ใช้งานเพียงแค่ดาวน์โหลด template ไปติดตั้งบน joomla ของตนเองก็สามารถใช้งานได้ทันที joomla template นั้นมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบที่สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบที่มีค่าใช้จ่าย โดย template ฟรี นั้นส่วนใหญ่จะมีรูปร่างหน้าตาที่สวยงาม แต่มักจะถูกตัดความสามารถออกไปหลายส่วน หากต้องการความสามารถที่เพิ่มขึ้นก็ต้องจ่ายสตางค์ซื้อ templ

หลักการทำงานของ joomla3.x

การทำงานของ joomla3.x นั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก joomla รุ่นเก่า ๆ มากนักซึ่งยังคงมีหลักการทำงานที่เหมือนกันดังนี้           1.    การสร้างบทความคือการสร้างหน้าเว็บเพจ เมื่อเขียนบทความขึ้นมาแล้วสามารถสั่งให้แสดงบทความได้ทันที หรืออาจจะปิดการทำงานเอาไว้ก่อนในกรณีที่ยังไม่ต้องการให้แสดง           2.    ก่อนจะสร้างบทความควรสร้างหมวดหมู่ (Categories) ของบทความนั้น ๆ ก่อนทั้งนี้เมื่อต้องการเขียนบทความจะได้เลือกหมวดหมู่นั้น ๆ ได้ทันที การสร้าง และเปลี่ยนหมวดหมู่ในภายหลังไม่เป็นผลดีกับการทำอันดับใน Search Engine           3.    การสร้างเมนูนั้นจะเชื่อมโยงกับบทความ และสามารถเลือกลักษณะของเมนูได้หลายลักษณะ เช่น เมื่อคลิกเมนูแล้วให้แสดงบทความเลย หรือเมื่อคลิกเมนูแล้วให้แสดงหมวดหมู่ของบทความ           4.    โมดูลเป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงผล ซึ่งสามารถแสดงผลตามตำแหน่งที่เทมเพลทนั้นรองรับ เช่น เมื่อเราสร้างเมนู เชื่อมโยงกับหมวดหมู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราต้องกำหนดการแสดงผลด้วยโมดูลในตำแหน่งที่เราต้องการอีกด้วย           5.    โมดูลนั้นสามารถสร้างเอง หรือ Download เพิ่มเติมก็ได้           6.    นอกจ

ทำความเข้าใจก่อนใช้ joomla3.x

รูปภาพ
หากคุณไม่ได้อยู่ในแวดวงของคนที่สร้างเว็บไซต์ หรือไม่ได้เรียนวิชาเอกที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เมื่อได้ยินคำว่า Joomla เชื่อว่าหลายคนน่าจะถามว่า มันคืออะไร แน่นอนว่ารายละเอียดเกี่ยวกับ Joomla นั้นผมได้เขียนเอาไว้มากมายทั้งในเว็บไซต์ Ninetechno.com และใน Blog แห่งนี้ แต่หากคุณคือผู้เริ่มต้นศึกษา และต้องการใช้งาน Joomla เนื้อหาต่อไปนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจหลักการทำงานของเว็บไซต์ และวิธีการทำงานของ Joomla ได้มากขึ้น  การสร้างเว็บไซต์นั้นประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ           Home page : หน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งจะมีเพียงหน้าเดียวในทุกเว็บไซต์           Web page : หน้าเว็บหน้าอื่น ๆ นอกเหนือจากหน้า Home page           Hyperlink : การเชื่อมโยงไปมาระหว่างหน้าเว็บเพจต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงออกไปยังภายนอกเว็บได้อีกด้วย หลักการใช้งานของ joomla3.x ที่คุณจะต้องทำความเข้าใจก็คือ           Home page = Front End View           Web page = Article หรือบทความ ซึ่งจะต้องสร้าง Categories แบ่งแยกประเภทของบทความด้วย           Hyperlink ทำงานเหมือนกัน แต่ต้องเรียนรู้การใส่ให้ถูกต้อง การใช้

joomla3.x Back End View คืออะไร

รูปภาพ
Back End View ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณต้องใช้ Back End View ในการควบคุมการทำงานของเว็บไซต์นั่นเอง การที่เราจะสามารถเข้าสู่ Back End View ได้นั้นจะต้องกรอก Username และ Password ของผู้ดูแลระบบ (Admin) ที่เราได้ตั้งค่าในขั้นตอนการติดตั้ง joomla นั่นเอง และเมื่อเข้าสู่ระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะพบกับหน้าต่างสำหรับควบคุม และปรับแต่งเว็บไซต์ตามภาพด้านล่าง Username, Password รวมถึง URL สำหรับการเข้าถึง Back End View ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ต้องเก็บรักษาเอาไว้ให้ดีอย่าให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของเว็บไซต์นั่นเอง การตั้งรหัสผ่านถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยอย่าตั้งรหัสผ่านที่คนอื่นคาดเดาได้ ส่วนการปกป้อง URL ของ Back End View นั้นสามารถติดตั้ง Plug-in เสริมได้ เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งภาษาไทยบน Joomla 4 Joomla 4 คืออะไร หลักการสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla 4 JCE Editor เครื่องมือเขียนเนื้อหาสำหรับ Joomla

joomla3.x front end view คืออะไร

รูปภาพ
การใช้งาน joomla นั้น มีอยู่ 2 เรื่องที่คุณจะต้องทำความเข้าใจนั่นคือ Front End View และ Back End View ในบทความนี้จะกล่าวถึง Front End View ซึ่งก็คือหน้าเว็บไซต์ที่เราสร้างด้วย joomla ประกอบด้วย Home page, Webpage และ Link เหมือนกับเว็บไซต์ทั่ว ๆ ไป เรียกได้ว่ามีเอาไว้ให้บุคคลทั่วไป สมาชิกได้เข้ามาเยี่ยมชมนั่นเอง สำหรับผู้เยี่ยมชมที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกก็สามารถสมัครสมาชิกได้จากหน้านี้ Front End View นั้นไม่สามารถปรับแต่งเว็บไซต์ได้แต่อย่างใด  หลังจากที่เราติดตั้ง joomla เสร็จเรียนร้อยแล้วจะได้ Front End View ตามภาพด้านล่าง   เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งภาษาไทยบน Joomla 4 Joomla 4 คืออะไร หลักการสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla 4 JCE Editor เครื่องมือเขียนเนื้อหาสำหรับ Joomla

ติดตั้ง joomla3.x บน localhost ตอนที่ 2

อ่านบทความ ติดตั้ง joomla3.x บน localhost ตอนที่ 1 >>คลิกที่นี่<< บทความนี้ผมจะเขียนเป็นบทสรุป โดยมีลิงก์ แนะนำไปยังบทความต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการเขียนบทความต่อ ๆ ไปนั่นเอง การติดตั้ง joomla ทุกเวอร์ชั่น มีรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ดังต่อไปนี้           1.  Download joomla และแตกไฟล์เตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้ง           2.  ติดตั้งโปรแกรมสำหรับจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น Web Server           3.  วางไฟล์ joomla ที่แตกจาก(ข้อ 1.) ในโฟลเดอร์ที่โปรแกรม Web Server แต่ละตัวกำหนด           4.  สร้าง User และ Password ของผู้สร้าง และดูแลฐานข้อมูล           5.  สร้างฐานข้อมูล           6.  เริ่มติดตั้ง joomla และปฏิบัติตามขั้นตอนการติดตั้งที่ joomla ระบุ                - รายละเอียดการติดตั้ง joomla 3.0 ตอนที่ 1 >>คลิกที่นี่<<                - รายละเอียดการติดตั้ง joomla 3.0 ตอนที่ 2 >>คลิกที่นี่<< เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งภาษาไทยบน Joomla 4 Joomla 4 คืออะไร หลักการสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla 4 JCE Editor เครื่องมือเขียนเนื้

การติดตั้ง Web Server ชนิดต่าง ๆ

บทความนี้เราจะมาดูวิธีการในการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเป็น Web Server โดยการติดตั้งโปรแกรมที่ผมได้เคยอธิบายไปก่อนหน้านี้อันได้แก่ Appserv, XAMPP, Wamp อ่านบทความการติดตั้ง Appserv >>คลิกที่นี่<< อ่านบทความการติดตั้ง XAMPP >>คลิกที่นี่<< อ่านบทความการติดตั้ง Wamp >>คลิกที่นี่<< สำหรับการเลือกใช้งานนั้น ผมแนะนำให้คุณดูรายละเอียดความต้องการของระบบที่เหมาะสมกับ joomla หรือ cms ของคุณ เนื่องจาก joomla รุ่นใหม่ ๆ นั้นมีความต้องการของระบบเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ความต้องการของระบบคืออะไร?           เมื่อมีการพัฒนา joomla รุ่นใหม่ ๆ ของมาจะระบบความต้องการของระบบ ที่สามารถทำงานได้ดีกับ joomla รุ่นนั้น ๆ อันได้แก่           โปรแกรมสำหรับสร้าง Web Server : Apache : 2.4.4           โปรแกรมฐานข้อมูล : MySQL : 5.6.12           โปรแกรมสำหรับสร้างหน้าเว็บเพจ : PHP : 5.4.16           โปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูลให้ง่ายขึ้น : PHPMyAdmin : 4.0.4 รายละเอียดด้านบนคือตัวอย่างที่ประกอบด้วย โปรแกรม และเวอร์ชั่นของโปรแกรม ที่เป็นความต้องการของระบบ ฉะนั้นก่อ

จำลองคอมพิวเตอร์เป็น Web Server

รูปภาพ
การออกแบบ เว็บไซต์ ในอดีตนั้นใช้ภาษา HTML เป็นหลัก แต่เมื่อมีการพัฒนาให้เว็บไซต์มีความสามารถเพิ่มมากขึ้น ได้มีการนำภาษาอื่น ๆ มาสร้างเว็บไซต์ร่วมกับภาษา HTML นั่นคือภาษา PHP และ ภาษา SQL  การสร้างเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML นั้นไม่จำเป็นต้องมีการสร้างฐานข้อมูล จึงไม่จำเป็นต้องจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น Web Server ก็ได้ แต่หากต้องการสร้างเว็บไซต์ฐานข้อมูลแล้วหละก็ คุณจะต้องจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณให้เป็น Web Server เนื่องจากเป็นหลักการทำงานของโปรแกรมฐานข้อมูลนั่นเอง การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น Web Server นั้นยากหรือไม่?      ปัจจุบันการจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เนื่องจากมีกลุ่มผู้พัฒนาหลายกลุ่มได้สร้างเป็นไฟล์ติดตั้งเพียงไฟล์เดียว เรียกว่าแค่ดับเบิลคลิกก็ติดตั้ง Web Server ได้แล้ว ปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น Web Server นั้นได้รับความนิยมอยู่ ประมาณ 3 โปรแกรมดังนี้           Appserv : ในอดีตนั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากใช้งานง่าย และมีคำแนะนำภาษามากมาย เยี่ยมชมเว็บไซต์ และ Download Appserv ได้ที่ http://www.appser

ติดตั้ง joomla3.x บน localhost ตอนที่ 1

รูปภาพ
Joomla ในทุกเวอร์ชั่นนั้น มีขั้นตอนการติดตั้งไม่แตกต่างกัน ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนการติดตั้ง Joomla3.x เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรามาดูขั้นตอนการติดตั้งกันเลยครับ หลังจาก Download Joomla เสร็จเรียบร้อยแล้วจะได้ไฟล์สำหรับติดตั้ง Joomla ตามภาพด้านล่าง สิ่งที่ต้องทำในขั้นตอนต่อไปคือการแตกไฟล์ที่ถูกบีบอัดออกมาเป็นโฟลเดอร์  จากตัวอย่างผมเลือกโปรแกรม 7-zip ในการแตกไฟล์ โดยการคลิกเมาส์ขวาบนไฟล์ Joomla ที่เรา Download มา จากนั้นคลิก 7-zip > Extract Here แตกไฟล์ที่ถูกบีบอัด   หลังจากสิ้นสุดกระบวนการแตกไฟล์ คุณจะเห็นโฟลเดอร์และไฟล์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ Joomla (อย่าลืมนำไฟล์ต้นฉบับ (joomla_3.1.5_Stable_Full_Package.zip) ออกไปเก็บ หรือไปวางไว้ที่อื่นด้วย เพราะเราไม่จำเป็นต้องใช้งานไฟล์นี้อีกแล้ว และอีกอย่างหนึ่ง หากเราติดตั้ง Joomla บน Hosting จะทำให้เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์) เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ติดตั้งภาษาไทยบน Joomla 4 Joomla 4 คืออะไร หลักการสร้างเว็บไซต์ด้วย Joomla 4 JCE Editor เครื่องมือเขียนเนื้อหาสำหรับ Joomla

Download Joomla 3.1.5 Stable Full Package

รูปภาพ
การที่เราจะใช้งาน Joomla3.x ได้นั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือการ Download  ไฟล์สำหรับติดตั้ง Joomla เพื่อนำมาติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของเรา ลักษณะการติดตั้งแบบนี้จะเรียกว่าการติดตั้งบน Localhost หรืออาจจะติดตั้งบน Hosting ที่เราเลือกใช้บริการ และปรับแต่งเลยก็ได้ครับ หลักในการ Download Joomla       1.  หากติดตั้งเป็นครั้งแรกให้ Download Joomla รุ่นล่าสุดอยู่เสมอ โดยสังเกตุว่าด้านหลังจะมีคำต่อท้ายว่า Stable Full Package      2.  เลือก Joomla ให้เหมาะสมกับระบบปฏิบัติการ เนื่องจากจะได้ไม่ต้องมีปัญหาในการแตกไฟล์ หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows ให้เลือกไฟล์นามสกุล .zip เช่น Joomla 3.1.5 Stable Full Package เป็นต้น ส่วนไฟล์นามสกุลอื่นนั้นใช้กับระบบปฏิบัติการ Linux      3.  การ Download Joomla รุ่น Upgrade ต่าง ๆ ต้องเลือกให้ถูกรุ่น เช่น เดิมของเราเป็น Joomla 3.1.4 เพราะฉนั้นเวลาจะ Upgrade ก็ต้องเลือกรุ่นที่ถูกต้องนั่นคือ Joomla_3.1.4_to_3.1.5-Stable-Patch_Package.zip Download Joomla 3.1.5 Stable Full Package : >>คลิกที่นี่<< หากต้องการ Download จากเว

joomla3.x คืออะไร

รูปภาพ
ต้องยอมรับว่าขณะนี้ Joomla ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ CMS ที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน หากในอดีตคุณชื่นชอบ Joomla เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ในเวอร์ชั่นใหม่นี้เชื่อว่าคุณจะชื่นชอบ Joomla มากกว่าเดิม สำหรับรุ่นก่อนหน้านี้คือ Joomla1.5 พัฒนามาเป็น Joomla1.6 , Joomla1.7 , Joomla2.5 ซึ่งจะได้รับการ Support ไปอีกประมาณปีกว่าๆ (นับจากวันนี้) จากนั้นก็จะเริ่มต้นใช้งานอย่างเต็มตัวสำหรับ Joomla3.x ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถบริหารจัดการเว็บไซต์เป็นทีมง่าย ซึ่งจัดการได้สะดวกกว่าเดิม อีกอย่างที่ดูจะแตกต่างออกไปก็คือสามารถปรับแต่งเทมเพลทที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เหตุผลที่เป็น Joomla3.x เนื่องจากการพัฒนานั้นยังคงดำเนินอยู่นั่นเอง เช่น ขณะที่ผมกำลังเขียนบทความอยู่นี้คือ Joomla3.1 และกำลังจะ Upgrade เป็น Joomla3.2 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาข้อมูลใหม่ ๆ มากขึ้น รวมถึงมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย สำหรับจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนใน Joomla เวอร์ชั่น 3 นี้คือการ Upgrade Joomla และส่วนเสริม (Extension) ผ่านทาง Back End ได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้