บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2014

สิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อสมัครโฮสติ้ง

รูปภาพ
การเช่าใช้บริการโฮสติ้ง (Hosting) มีสิ่งที่ต้องพิจารณาอยู่หลายประการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และมีพื้นที่ใช้งานอย่างเหมาะสม สำหรับสิ่งที่ต้องพิจารณามีดังต่อไปนี้      1.  สำรวจตรวจสอบขนาดไฟล์ของ เว็บไซต์ และคำนวณเผื่อถึงอนาคตด้วย ว่าเราจะเพิ่มข้อมูลมากน้อยแค่ไหน มีไฟล์รูปภาพ, ไฟล์เสียง หรือไฟล์วีดีโอมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้เพื่อนำไปพิจารณาในการเลือกขนาดของพื้นที่ที่เหมาะสมนั่นเอง      2.  เว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นนั้น ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์อะไรในการพัฒนา ทั้งนี้เพื่อใช้สำหรับเลือกระบบปฏิบัติการนั่นเอง หากเว็บไซต์ของคุณสร้างด้วย CMS ที่เป็น Opensource ก็ควรเลือกโฮสติ้งที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการลีนุกส์ (Linux) ซึ่งผู้ให้บริการทุกรายจะติดตั้งโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่รอบรับการทำงานของ CMS ให้คุณอย่างครบถ้วน      3.  ต้องใช้ E-mail มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากหากคุณต้องการมี E-mail ที่มีชื่อลงท้ายด้วย @yourdomain ของคุณ เช่น admin@ninetechno.com คุณจะต้องเสียพื้นที่สำหรับเก็บ E-mail นั้น ๆ ด้วย      4.  ใช้งานฐานข้อมูลมากน้อยแค่ไหน เพราะผู้ให้บริการมักกำหนดแพ็คเกจ โดยอ้างอิงจา

ปกป้องหน้า administrator ของ joomla ด้วย ksecure

รูปภาพ
โดยปกติแล้วเมื่อเราต้องการเข้าไปเขียนบทความ หรือปรับแต่ง joomla เราจะเข้าไปในส่วนของ Back End หรือหลาย ๆ คนอาจจะเรียกว่าหน้า admin ซึ่งเส้นทางสำหรับเข้าสู่หน้านี้ที่เป็นมาตรฐานคือ http://www.yourwebsite.com/administrator ซึ่งจะเห็นว่าไม่มีความปลอดภัยเลย คนที่ใช้งาน joomla เป็นก็สามารถเดาได้ว่าจะเข้าไปปรับแต่ง เว็บไซต์ ก็แค่เข้าทางนี้  ทำให้มีความเสียงต่อการโดนโจมตีจากผู้ไม่หวังดีเป็นอย่างมาก ยิ่งตั้ง username และ password แบบง่าย ๆ ยิ่งเสี่ยงเข้าไปใหญ่ บทความนี้จึงขอแนะนำ Plug-in ที่ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณปลอดภัยมากยิ่งขึ้นครับ ก่อนใช้ Plug-in ตัวนี้กรุณามีสติ และอ่านบทความให้จบก่อนใช้ มิเช่นนั้นอาจจะทำให้คุณไม่สามารถเข้าไปปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณได้อีกต่อไป (คุณอาจจะทำการสำรองข้อมูลก่อนการใช้งานก็ได้ถ้าไม่มั่นใจ) Website ของผู้พัฒนา : http://www.kareebu.com/  เวอร์ชั่น Joomla ที่สามารถใช้งานได้ : Joomla2.5 และ Joomla3.X Download Extensions : >> คลิกที่นี่ << หากต้องการ Download จากเว็บไซต์ของผู้พัฒนาคุณต้องลงทะเบียน และเข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถ Download ได้ หลังจาก D

เทคนิคการเขียนบทความอย่างรวดเร็ว

รูปภาพ
เมื่อเขียนบทความบน joomla สิ่งที่ทำให้รู้สึกเป็นภาระในการเขียนบทความก็คือ การแทรกรูปภาพในเนื้อหา เนื่องจากการเพิ่มรูปแต่ละครั้ง มักใช้วิธีการ upload รูปภาพผ่านทาง Back End ของ joomla เข้าไปยังโฟลเดอร์เก็บรูปภาพ และการ upload นี้เอง คือปัจจัยที่ทำให้ช้า หากอินเตอร์เน็ตมีความเร็วมากพอ อาจจะรู้สึกว่าไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าอินเตอร์เน็ตไม่เร็วมักพบปัญหาในการ upload และส่งผลให้การเขียนบทความนั้นเกิดความล่าช้า  สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้ยังมีทางออก เทคนิคต่อไปนี้สามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี      1.  กำหนดไฟล์รูปภาพให้เหมาะสม ไมว่าจะเป็นความกว้าง หรือความสูง รวมไปถึงความละเอียดของรูปภาพด้วย นอกจากนี้แนะนำให้ใช้ไฟล์รูปภาพ นามสกุล .png ก็ช่วยได้มาก      2.  upload รูปภาพผ่านทาง ftp เข้าไปยังโฟลเดอร์ images โดยสร้างโฟลเดอร์ย่อย แยกประเภทแต่ละบทความด้วยก็ดี เช่น หากเขียนบทความเกี่ยวกับ joomla ก็สร้างโฟลเดอร์ joomla ภายในโฟลเดอร์ images และหากมีปริมาณรูปมาก ก็สามารถสร้างโฟลเดอร์ย่อยในโฟลเดอร์ joomla อีกทีก็ได้ เช่น สร้างโฟลเดอร์ 2014 เพื่อแยกประเภทรูปภาพเป็

การเตรียมข้อมูลที่ดีช่วยให้สร้างเว็บไซต์ได้เร็วขึ้น

รูปภาพ
สำหรับคนที่ต้องการมีเว็บไซต์แล้ว มักมีความใจร้อน และอยากจะให้เว็บไซต์เสร็จเร็ว ๆ โดยที่อาจจะลืมไปว่า การสร้างเว็บไซต์นั้น ไม่ใช่ว่าติดตั้ง Joomla เสร็จแล้วจะเหลือแค่การปรับแต่ง Joomla เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังต้องนำข้อมูล และรูปภาพไปใส่ ซึ่งก็คือหัวใจของการสร้างเว็บไซต์นั่นเอง ก่อนสร้างเว็บไซต์นั้นคุณอาจจะของเขียนโครงสร้างต่าง ๆ ในกระดาษเสียก่อน เช่น       1.  ข้อมูลที่บอกว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร ข้อมูลนี้จะอยู่ในส่วนของ About Us (เกี่ยวกับเรา) สามารถติดต่อคุณได้อย่างไร Contact Us (ติดต่อเรา) หรือมีข้อตกลง และเงื่อนไขการใช้เว็บไซต์อย่างไร (Term and Condition)      2.  โครงสร้างของเนื้อหาที่แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ควรกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบ สามารถค้นหา ปรับแต่งแก้ไขเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว      3.  การวางโครงสร้างข้อมูลที่ดีนั้นยังมีประโยชน์ในการทำ SEO ได้อีกด้วย      4.  หากภายในเว็บไซต์ของคุณต้องใช้เว็บไซต์เป็นจำนวนมาก เช่น เว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร หรือเว็บไซต์นำเสนอข้อมูลประเภทบทความ ควรกำหนดโฟลเดอร์จัดเก็บข้อมูลให้เป็นระเบียบด้วย

รูปภาพกับการใช้งานร่วมกับเว็บไซต์

รูปภาพ
เว็บไซต์ (Website) นั้นพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ตามความเร็วอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น มีการเพิ่มเติมของภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์อยู่มากมาย เว็บไซต์ที่ดีนั้นประกอบด้วยหลาย ๆ ส่วนอันได้แก่      1.  ระบบดี คือมีความสามารถที่หลากหลาย เช่น มีแกลเลอรี่, มีแบบสำรวจ หรือระบบอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณใช้งาน Joomla ระบบเหล่านี้มีมาให้เป็นพื้นฐานอยู่พอสมควร แต่หากต้องการระบบมากขึ้นก็สามารถ Download และติดตั้งเพิ่มเติมได้ และที่สำคัญคือระบบนั้นจะต้องมีความปลอดภัย และมีความผิดพลาดน้อยที่สุด      2.  มีความสวยงาม ซึ่งความสวยงามที่กล่าวถึงนี้ประกอบไปด้วยการออกแบบสีของเว็บไซต์ และการใช้รูปภาพประกอบที่เหมาะสม บทความนี้จะกล่าวถึงการนำรูปภาพมาใช้งานร่วมกับเว็บไซต์ เนื่องจากส่วนของระบบนั้น เราจะต้องเรียนรู้การใช้งาน และเลือกจากผู้พัฒนาที่มีความน่าเชื่อถือ รูปภาพที่นำมาใช้บนเว็บไซต์นั้น สามารถนำมาใช้ได้หลายชนิด แต่รูปภาพที่ได้รับความนิยมจะมีอยู่ 3 ชนิดได้แก่ .jpg, .png และ .gif      รูปภาพ .jpg นั้นได้จากเครื่องมือต่าง ๆ เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล, สแกนเนอร์ และการจัดภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกร

Mysql โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล

รูปภาพ
การสร้าง เว็บไซต์ (Website) ในอดีตนั้น เป็นเพียงการใส่ตัวอักษร และรูปภาพลงบนหน้าเว็บเพจ และใช้ภาษา HTML ในการสร้างหน้าเว็บเพจเป็นหลัก แต่ด้วยความต้องการที่มากขึ้น เช่น ต้องการเก็บข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์, ต้องการให้มีการจัดทำระบบสมาชิก, ต้องการให้มีแบบสำรวจ จึงจำเป็นต้องนำฐานข้อมูลเข้ามาเกี่ยวข้อง และภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลได้แก่ภาษา SQL นั่นเอง โปรแกรมที่ใช้จัดการฐานข้อมูลนั้นมีหลายโปรแกรม แต่ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ MySQL   เนื่องจากเป็นโปรแกรมประเภท Opensource ซึ่งแจกจ่ายให้ใช้งานได้ฟรี อย่างไรก็ตาม Opensource นั้นมีการเปลี่ยนแปลงผู้พัฒนาอยู่บ่อยครั้ง ผู้ให้บริการโฮสติ้งมักให้ความสำคัญและติดตามข่าวสารเหล่านี้อยู่ตลอดอยู่แล้ว หากเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับ MySQL สามารถสอบถามจากผู้ให้บริการของคุณก็ได้ สำหรับ Joomla แล้ว คุณจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ MySQL พอสมควร เช่น การสร้าง Database การสร้างผู้ใช้งานฐานข้อมูล เป็นต้น เรียกได้ว่าศึกษาพอให้รู้หลักการทำงานคร่าว ๆ เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องศึกษาการใช้คำสั่งที่ซับซ้อนมากก็ได้ เนื่องจากกระบวนการในการติดตั้ง Joomla นั้น คุณจะต้

รู้จัก localhost ให้มากขึ้น

รูปภาพ
โดยหลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายแล้ว  คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ช่องต่อ Lan หรือ การ์ด Lan ก็แล้วแต่ อุปกรณ์ชิ้นนี้มีความสำคัญกับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายด้วยสายสัญญาณ และอุปกรณ์ชิ้นนี้จะมีหมายเลขประจำตัวที่เรียกว่า IP Address เปรียบเสมือนบ้านเลขที่ของคุณที่มีอยู่บนโลกใบนี้ซึ่งจะไม่ซ้ำกันเลย เหตุผลที่ไม่ซ้ำเพราะว่าบ้านเลขที่นั้นจะประกอบด้วย เลขที่ของบ้าน หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด นั่นเอง ในการสร้างเว็บไซต์นั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เราต้องจดโดเมนเนม ซึ่งเป็นเสมือนประตู่ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมเปิดเข้ามายังเว็บไซต์ของเรา โฮสติ้งเปรียบเสมือนบ้านที่จัดเก็บเว็บไซต์ของเราอยู่ภายใน ซึ่งการจดโดเมนเนม และเช่าโฮสติ้งนั้นมีค่าใช้จ่าย  สำหรับผู้เริ่มต้นอาจจะยังไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว เนื่องจากความไม่พร้อม หรือเพียงแค่ต้องการศึกษา จึงมีผู้พัฒนาโปรแกรม (Software) ที่ติดตั้งลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นกลายเป็นระบบเครื่องขายซึ่งประกอบด้วยส่วนที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Server) และส

จดโดเมนเนม และเช่าโฮสติ้งพร้อมกันเลยไหม

รูปภาพ
หากคุณคือผู้เริ่มต้นสร้าง เว็บไซต์ (website) ด้วยตนเอง คงเกิดคำถามว่า ควรจดโดเมนเนม และเช่าโฮสติ้งไปพร้อมกันเลยหรือไม่ ความเห็นส่วนตัวแล้ว ผมแนะนำให้จดโดเมนเนม และเช่าโฮสติ้งกับผู้ให้บริการเดียวกัน เนื่องจากบริหารจัดการได้ง่ายนั่นเอง และที่สำคัญก็คือควรจดโดเมน และเช่าโฮสติ้งไปพร้อมกันเลยเนื่องจากจะง่ายกับการบริการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงิน หรือการต่ออายุเมื่อโดเมน และโฮสติ้งสิ้นสุดระยะเวลาตามที่ได้ตกลงกันไว้ในช่วงแรก ยกเว้นบางกรณีที่คุณอาจจะได้โดเมนเนมจากเพื่อน ๆ หรือจะได้มาด้วยวิธีการใดก็ตาม คุณอาจจะปรึกษากับผู้ให้บริการโฮสติ้งที่คุณเลือกใช้บริการ เพื่อให้เขาจัดการให้ ซึ่งผู้ให้บริการทุกรายก็ยินดีช่วยเหลือคุณอยู่แล้ว หรือในกรณีที่คุณเคยไปจดโดเมนเนม และเช่าโฮสติ้งกับผู้ให้บริการรายอื่น แล้ว คุณก็สามารถแจ้งให้ผู้บริการรายใหม่ ช่วยเหลือคุณในการย้ายโดเมนเนมก็ได้ สิ่งสำคัญที่ต้องเก็บไว้ให้ดีก็คือข้อมูล Username และ Password ที่คุณได้รับหลังจากจดโดเมน หรือหากไม่ได้รับก็อาจจะต้องสอบถามไปยังผู้ให้บริการ เนื่องจาก Username และ Password นี้ใช้สำหรับบริการจัดการโดเมนเนมของค

รู้จักโฮสติ้ง (Hosting) ให้มากขึ้น

รูปภาพ
อย่างที่ผมเคยเขียนในบทความ หลาย ๆ บทความแล้วว่า ก่อนที่เราจะออกแบบเว็บไซต์นั้น เราควรจะต้องตั้งชื่อเว็บไซต์เป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นการทำให้เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของเราชัดเจนมากขึ้น และเมื่อเราได้ชื่อเว็บไซต์ และจดโดเมนเนมเรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปเราก็จะมาพิจารณากันว่าจะเลือกโฮสติ้ง (Hosting) อย่างไร หากบอกว่าชื่อเว็บไซต์คือชื่อร้าน หรือชื่อกิจการที่เราตั้งขึ้น โฮสติ้งก็เปรียบเสมือนตึก หรืออาคารที่เราซื้อ หรือเราเช่านั่นเอง หากเรามีทุนทรัพย์มากพอเราก็อาจจะซื้ออาคารนั้นเป็นของเราเลย แต่หากเราไม่มีทุนมากนัก เราก็จำเป็นจะต้องใช้การเช่า แทนการซื้อนั่นเอง การเช่าโฮสติ้ง เหมือนกับการเช่าตึกอยู่หลาย ๆ ด้าน เช่น      1.  ในตึกนั้นมีผู้เช่าอยู่ในชั้นอื่น ๆ ของตึกนั้นด้วย การเช่าโฮสติ้งก็เหมือนกันย่อมมีผู้เช่าคนอื่น ๆ อยู่บนเครื่องเดียวกับเราด้วย      2.  ในการเช่าตึกนั้นเราสามารถเลือกพื้นที่ได้มากน้อยตามความต้องการ การเช่าโฮสติ้งก็เช่นเดียวกัน      3.  การเช่าตึกนั้นมีระยะเวลาในการเช่า โฮสติ้งก็เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเช่าเป็นรายปี ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นการเปรียบเปรย เ

วิธีจดโดเมนเนม

รูปภาพ
หลังจากที่เราได้กำหนดชื่อเว็บไซต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการจดโดเมนเนม ( Domain Name ) หรือการขอมีชื่อที่อยู่ของเราบนอินเตอร์เน็ตนั่นเอง สำหรับขั้นตอนมีดังต่อไปนี้           1.    เปิดเว็บไซต์ Google ขึ้นมา และพิมพ์คำว่า จดโดเมน เพียงเท่านี้คุณจะพบเว็บไซต์ที่ให้บริการจดโดเมน เป็นจำนวนมาก คลิกเลือกเว็บไซต์ใด ๆ ก็ได้และมองหาหน้าค้นหาโดเมนตามภาพด้านล่าง ผู้ให้บริการแต่ละแห่งนั้นจะกำหนดส่วนในการค้นหาเอาไว้แตกต่างกัน ทำให้หน้าตาของแบบฟอร์มสำหรับค้นหาชื่ดโดเมนเนมแตกต่างกัน  จากนั้นพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการลงไป โดยไม่ต้องมี .com หรือ .อื่น ๆ เพราะจะเห็นว่าที่ช่องทางด้านหลังนั้นมีตัวเลือกให้เลือก จากตัวอย่างนี้ผมพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ว่า thaifruit และกำหนดช่องด้านหลังเป็น .com หรือ .อื่น ๆ ตามความต้องการ เมื่อเสร็จแล้วคลิกปุ่ม Search ภาพตัวอย่าง แบบฟอร์มสำหรับค้นหาโดเมนเนม แบบที่ 1 ภาพตัวอย่าง แบบฟอร์มสำหรับค้นหาโดเมนเนม แบบที่ 2           2.    ระบบจะทำการตรวจสอบซึ่งจะใช้เวลาสักครู่หนึ่ง และแจ้งให้เราทราบว่า จะสามารถ จดโดเมนเนมที่ต้องการได้หรือไม่ หาก

ความสำคัญของโดเมนเนม (Domain name)

รูปภาพ
โดยปกติแล้วเมื่อเราต้องการสร้าง เว็บไซต์ (Website) สิ่งที่ควรนึกถึงเป็นอันดับแรกก็คือชื่อของเว็บไซต์ หรือ โดเมนเนม (Domain Name) นั่นเอง เนื่องจากชื่อของเว็บไซต์นั้นเป็นสิ่งที่เราใช้บอกกับคนอื่น ๆ เพื่อให้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา และชื่อเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนแบรนด์ของสินค้า หากเราเลือกชื่อเว็บไซต์ที่เหมาะสม จะเป็นการสื่อความหมายให้คนทั่วไปรู้จักกับสินค้า หรือบริการของเราได้ดีขึ้น เช่น ธุรกิจของเราจำหน่ายผลไม้ เราอาจจะตั้งชื่อเว็บไซต์ว่า thaifruit.com หรือ fruitthai.com เป็นต้น การตั้งชื่อในลักษณะนี้เป็นการนำคำที่มีความหมาย และเข้าใจง่ายมาเรียงต่อกัน อาจจะสลับคำไว้ด้านหน้าบ้าง ด้านหลังบ้าง ก็ขึ้นอยู่กับว่า ชื่อเว็บไซต์ หรือชื่อโดเมนที่เราต้องการนั้น มีคนจดทะเบียนไปแล้วหรือยัง เนื่องจากชื่อเว็บไซต์บนโลกนี้ไม่สามารถมีชื่อที่ซ้ำกันได้ นั่นเอง เพื่อให้คุณสามารถได้ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการ คุณควรจะตั้งชื่อให้มากกว่า 1 ชื่อ และคัดเลือกเชื่อที่ต้องการที่สุดเอาไว้อันดับที่ 1 และค่อย ๆ ลดความสำคัญลงมา ซึ่งจะช่วยให้การจดโดเมนเนม รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากชื่อที่เราเลือกแล้ว นามสกุลของโด